วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัตินักคณิตศาสตร์


ยุคลิดแห่งอะเล็กซานเดรีย(Euclid of Alexandria)
ประมาณ 450 – 380 ปี ก่อนคริสตศักราช
ประวัติ
ยุคลิด เป็นชาวกรีซ ศึกษาที่สถาบันของ Plato ที่กรุงเอเธนส์ ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์และหัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์คนแรกที่มหา วิทยาลัยอะเล็กซานเดรีย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในในโลก ตั้งขึ้นประมาณ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ผลงานสำคัญ คือ การเขียนตำราทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับเรขาคณิต
-----------------------------------------------------------------------

ปีทาโกรัส(Pythagoras)
ประมาณ 572-500 ก่อนคริสต์ศักราช
ประวัติ

ปีทาโกรัสเป็นชาวกรีซ ท่านเคยศึกษาที่อียิปต์และได้ก่อตั้งสำนักปีทาโกเรียนที่เมือง Crotona ประเทศอิตาลี ปีทาโกรัสคิดว่าปริมาณต่างๆในธรรมชาติสามารถเขียนในรูปเศษส่วนของจำนวนนับ เมื่อมีการค้นพบจำนวนอตรรกยะขึ้นทำให้ปีทาโกรัสและศิษย์ทั้งหลายเสียขวัญและ กำลังใจเมื่อทางราชการขับไล่เพราะกล่าวหาว่าสำนักปีทาโกเรียนเป็นสถาบัน ศักดินา สำนักปีทาโกเรียนก็สูญสลายไป
-----------------------------------------------------------------------

เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ ( Leonhard Euler)
ค.ศ. 1707 – 1783
ประวัติ

ออยเลอร์เป็นสวิส ท่านได้รับปริญญาตรีอายุ 16 ปี และปริญญาโทอายุ 18 ปี ใน ปี ค.ศ.1727 ท่านรับตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ที่ ST.petersburg Academy of sciences และ 14 ปีต่อมาท่านไปเป็นผู้อำนวยการที่ Prussian Academy ท่านทำงานในตำแหน่งนี้ 25 ปีจึงกลับไปที่ ST.petersburg อีกและอยู่ที่นั่นจนถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1783 อายุ 76 ปี ถึงแม้ท่านจะตาบอดในช่วง 17 ปีสุดท้ายของชีวิต ท่านก็ไม่ได้หยุดยั้งการค้นคว้าตลอดชีวิตของท่าน ได้เขียนหนังสือ 530 เล่ม และบทความอีกมากมาย
ผลงานที่สำคัญ เขียนตำราเกี่ยวกับ พื้นฐานทางAnalysis แคลคูลัส ริเริ่มวิชาทอพอโลยีโดยแก้ปัญหาสะพานเมืองKonigsberg คิดสัญลักษณ์ F(x) , e , , I , ¶ , และคิดทฤษฎีบทต่างๆในคณิตศาสตร์ระดับสูงอีกมากมาย
-----------------------------------------------------------------------

คาร์ล ฟรีดริค เกาส์( Carl Friendrich Gauss)
ค.ศ. 1777 – 1855
ประวัติ
เกาส์เป็นชาวเยอรมัน บิดาเป็นชาวสวนและช่างปูน เกาส์แสดงความสามารถทางคณิตศาสตร์ตั้งแต่เด็ก ท่านค้นพบข้อผิดพลาดในบัญชีจ่ายเงินของบิดาเมื่ออายุ 10 ปี ท่านสามารถหาผลบวกของ 1+2+3+...+100 โดยสังเกตว่า 100+1 = 101 , 99 + 2 = 101 , 98 + 3 = 101 ซึ่งมีทั้งหมด 50 คู่ ดังนั้นคำตอบคือ 50 x 101 หรือ 5050 ท่านได้รับการสนับสนุนจาก Duke of Brunswick ให้การศึกษาต่อระดับสูงจนสำเร็จปริญญาเอก ในปี 1807 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์สาขาคณิตศาสตร์ Gottingen และทำงานที่นี่จนถึงแก่กรรม
ผลงานสำคัญ ท่านได้พัฒนาความรู้ทางคณิตศาสตร์ระดับสูงหลายด้าน
-----------------------------------------------------------------------

ปิแยร์ เดอ แฟร์มาต์ (Pierre de Famat)
ค.ศ. 1601 – 1665
ประวัติ

แฟร์มาต์เป็นชาวฝรั่งเศส มีอาชีพเป็นนักกฎหมาย เมื่ออายุ 30 ปี ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษากฎหมายขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของเมือง Toulouse ท่านใช้เวลาว่างศึกษาค้นคว้าคณิตศาสตร์ ท่านมีส่วนในการพัฒนาคณิตศาสตร์ในหลายสาขา
ผลงานของท่านมีดังนี้ ริเริ่มพัฒนาเรขาคณิตวิเคราะห์ ริเริ่มวิธีหาเส้นสัมผัสของเส้นโค้ง หาค่าสูงสุด และต่ำสุดของฟังก์ชัน ริเริ่มพัฒนาทฤษฎีความน่าจะเป็นร่วมกับปาสกาล พัฒนาทฤษฎีบทต่างๆในทฤษฎีจำนวนหลายทฤษฎีบท
-----------------------------------------------------------------------

แบลส ปาสกาล (Blaise Pascal)
ค.ศ. 1623-1662
ประวัติ

ปาสกาลเป็นชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1623 บิดาเป็นนักคณิตศาสตร์และผู้พิพากษา ปาสคาลแสดงความเป็นอัฉริยะทางคณิตศาสตร์ตั้งแต่เด็ก เมื่ออายุได้ 12 ปี ท่านพัฒนาเรขาคณิตเบื้องต้นด้วยตนเอง เมื่ออายุได้ 14 ปี ท่านเข้าร่วมประชุมกับนักคณิตศาสตร์ฝรั่งเศส ซึ่งต่อมานักคณิตศาสตร์กลุ่มนี้ได้สถาปนา French Academy ในปี ค.ศ. 1666 เมื่ออายุได้ 16 ปี ท่านได้พัฒนาทฤษฎีบทที่สำคัญในวิชาเรขาคณิตโพรเจกตีฟ และเมื่ออายุได้ 19 ปี ท่านได้พัฒนาเครื่องคิดเลข ท่านมี
ผลงานอื่นๆอีกได้แก่ สามเหลี่ยมปาสกาล ทฤษฎีความน่าจะเป็น Cycloid
-----------------------------------------------------------------------

แบร์ฮาร์ด รีมันน์ (Bernhard Riemann)
ค.ศ. 1862 – 1866
ประวัติ

รีมันน์เป็นชาวเยอรมัน รีมันน์เป็นคนสงบเสงี่ยมและขี้โรค ฐานะทางบ้านของรีมันน์ไม่ดี แต่ก็รับการศึกษาอย่างดีเยี่ยม ได้รับปริญญาเอกเมื่อปี ค.ศ. 1851 ผลงานของท่านมีดังนี้ พัฒนาทฤษฎีบทฟังก์ชันจำนวนเชิงซ้อน เสนอมโนมติเกี่ยวกับ Riemann surface พัฒนามโนมติของอินทิกรัลอย่าง แจ่มชัด คิดทฤษฎีบทเกี่ยวกับจำนวนเฉพาะ เสนอสัจพจน์ที่เป็นรากฐานของเรขาคณิตและแสดงข้อแตกต่างระหว่างการต่อไป เรื่อยๆและความยาวไม่จำกัดของเส้นและระนาบ ก่อให้เกิดเรขาคณิตแนวใหม่ชื่อ Reimann geometry หรือ Elliptic Geometry

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น